ประเภทของเครื่องวัดเสียง
1. Sound Level Meter หรือ ก็คือเครื่องวัดเสียงแบบปกติที่เราเคยเห็นกัน สามารถถือบนมือเพื่อวัดเสียงได้เลยหรือหากต้องการวัดเป็นระยะเวลานานก็สามารถติดกับขาตั้งได้
ในบทความนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับประเภทของ เครื่องวัดเสียง (Sound Level Meter) ให้ทุกท่านได้รู้จักกันว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านสามารถเลือกใช้เครื่องวัดเสียงได้อย่างถูกต้องตามแต่ละสถานการณ์
รูปภาพเครื่องวัดเสียง Lutron-4023SD
กรณีที่ 1 แบ่งตามประเภทการวัด
รูปภาพ เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม Noise Dosimeter
2. Noise Dosimeter หรือ เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม เป็นเครื่องวัดที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะให้สามารถติดไปกับพนักงานเพื่อบันทึกระดับเสียงทั้งหมด ที่พนักงานได้รับและคํานวณค่าเฉลี่ยของระดับความดังตลอดเวลาที่เครื่องวัดนี้ทำงาน เพราะฉะนั้นเราก็จะได้ความดังเสียงจริงๆที่พนักงานคนนึงได้รับ


กรณีที่ 2 แบ่งตามข้อมูล
เครื่องวัดเสียงแต่ละแบบจะมีความสามารถในการวัดเสียงที่แตกต่างกันบางรุ่นก็จะมีฟังก์ชั่นในการวัดเสียงที่หลากหลาย บางรุ่นก็สามารถวัดความดังของเสียงได้เพียงอย่างเดียว จะสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. แบบเลขตัวเดียว – เป็นเครื่องวัดเสียงพื้นฐานที่สามารถเก็บข้อมูลได้แค่เลขตัวเดียว คือความดังของเสียงตามช่วงเวลานั้นๆ (Time Domain)

รูปภาพ เครื่องวัดเสียงแบบเลขตัวเดียว
2. แบบแยกความถี่ – เครื่องวัดเสียงแบบแยกความถี่ (Frequency Domain) จะสามารถช่วยให้เราสามารถเห็นรายละเอียดความดังของแต่ละความถี่ในช่วงเวลานั้นๆของเสียงได้ เพื่อที่เราสามารถนำผลข้อมูลไปใช้ในการเลือกวัสดุดูดซับเสียง ทำกำแพงกันเสียง หรือ ใช้ในงานด้าน Noise control ได้แม่นยำและถูกต้องยิ่งขึ้น และในบางรุ่นก็จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานพิเศษ เช่นสามารถวัด RT60, STC, NC และ STI ได้ เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้เลยไม่ต้องมาคำนวนทีหลัง แต่จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง

รูปภาพ เครื่องวัดเสียงแบบแยกความถี่ NTi-XL2
กรณีที่ 3 แบ่งตามความแม่นยำ
1. CLASS 1 - จะเป็นเครื่องวัดที่มีความแม่นยำสูงสุดในปัจจุบัน และ มีราคาที่แพง โดยจะต้องผ่าน มาตรฐาน IEC 61672 และมีใบรับรอง
เกณฑ์ขั้นต่ำจะต้องมี Frequency range 16Hz – 20kHz ค่าความผิดผลาดที่ 1kHz จะต้องไม่เกิน ± 0.7dB และจะต้องสามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิ -10°C to 50°C
2. CLASS 2 – เครื่องวัดเสียงที่มีความแม่นยำรองลงมาจาก CLASS 1 และมีราคาที่ถูกกว่าพอสมควรโดยจะต้องผ่าน มาตรฐาน IEC 61672
เกณฑ์ขั้นต่ำจะต้องมี Frequency range 20Hz – 8kHz ค่าความผิดผลาดที่ 1kHz จะต้องไม่เกิน ± 1dB และจะต้องสามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิ 0°C to 40°C
3. Low-cost - เป็นเครื่องวัดเสียงที่มีขายมากที่สุดในตลาด มีราคาที่ค่อนข้างถูกแต่จะแลกมาด้วยความแม่นยำที่ต่ำ และไม่ผ่าน มาตรฐาน IEC สามารถใช้ในการวัดค่าประมาณคร่าวๆได้ แต่ไม่ควรใช้อ้างอิง
ตารางแสดง เกณฑ์ขั้นต่ำของเครื่องวัดเสียง CLASS 1 และ CLASS 2
จากที่ทุกท่านได้อ่านกันไปคงจะเห็นได้ว่าเครื่องวัดเสียงมีหลายหลายรูปแบบ ถ้าเราสามารถเข้าใจการทำงานและวิธีการใช้งานของแต่ละแบบเราก็จะสามารถเลือกเครื่องที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทาง บริษัท Zen Acoustic ก็มีบริการตรวจวัดเสียงต่างๆ เช่น วัดความดังทั่วไป SPL, วัดเสียงรบกวนตามกฎหมาย, RT60, STC, NC เป็นต้น ทำการวัดเสียงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด หากสนใจหรือมีปัญหาด้านเสียงสามารถติดต่อมาได้เลยที่ Line @zen-acoustic

